• Welcome to ADMGAME admauto99 แบรนเกมสล็อต คาสิโน พนันครบวงจร.
 

ร้อง หมอ-พยาบาล รพ.ดังโคราช วินิจฉัยผิด ทำลูก4ขวบ ไส้ติ่งแตก ดับสลด

เริ่มโดย thanin, มิ.ย 20, 2024, 08:56 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

thanin

ร้อง หมอ-พยาบาล รพ.ดังโคราช วินิจฉัยผิด ทำลูก4ขวบ ไส้ติ่งแตก ดับสลด

2 ครอบครัวร้อง หมอ-พยาบาล โรงพยาบาลดังโคราช วินิจฉัยผิด ให้แค่ยาแก้ปวด ลดไข้ ทำลูกสาววัย 4 ขวบ ไส้ติ่งแตก ดับสลดคาห้องผ่าตัด สธ. สั่งสอบด่วน

วันที่ 20 มิ.ย.2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) น.ส.ชลิดา พะละมาตย์ หรือ ต้นอ้อ เป็นหนึ่ง ประธานมูลนิธิเป็นหนึ่ง ได้พาครอบครัวผู้เสียหาย 2 ราย จาก จ.นครราชสีมา เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนกรณีการรักษาพยาบาลที่ผิดพลาดโดยบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จ.นครราชสีมา


โดยมี นายกองตรี ดร.ธนกฤต จิตอารีรัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับเรื่องร้องเรียน โดยมีการพูดคุยกับครอบครัวผู้เสียหายและมูลนิธิเป็นหนึ่งราว 1 ชั่วโมง


2 ครอบครัวร้อง หมอ-พยาบาล โรงพยาบาลดังโคราช วินิจฉัยผิด ให้แค่ยาแก้ปวด ลดไข้ ทำลูกสาววัย 4 ขวบ ไส้ติ่งแตก ดับสลดคาห้องผ่าตัด สธ. สั่งสอบด่วน Admauto99

น.ส.ชลิดา กล่าวว่า ตนได้พาครอบครัวผู้เสียชีวิต 2 รายมาร้องเรียนวันนี้ จากทั้งหมดที่มีข้อมูลประมาณ 10 ราย ซึ่งเหตุที่เกิดขึ้นเหล่านี้จากโรงพยาบาลเดียวกันนี้ ตนไม่โทษทางผู้บริหารของโรงพยาบาล แต่โทษการทำงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงาน เพราะประชาชนที่ร้องเรียนมาก็บอกว่าบุคลากรไม่ปฏิบัติงานตามมาตรฐาน


น.ส.ชลิดา กล่าวต่อว่า อย่างเช่น พยาบาลนั่งเล่นมือถือ เท่าที่ทราบมาพบว่า โรงพยาบาลมีหมออยู่ 5 คน ซึ่งตนเข้าใจว่าบุคลากรทำงานหนัก แต่เมื่อเป็นหมอแล้วก็ต้องอุทิศตนดูแลผู้ป่วยเหมือนญาติของตัวเอง


น.ส.ชลิดา กล่าวอีกว่า ดังนั้นเรื่องนี้ต้องถอดบทเรียนเพื่อแก้ไข โดยสิ่งสำคัญคือประชาชนจะไว้ใจการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลได้หรือไม่ เนื่องจากหลังเกิดเหตุการณ์ที่มีการเสียชีวิตขึ้น ทางโรงพยาบาลก็ทำให้บริการรักษาตามปกติ และยังไม่มีการเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิต วันนี้ตนจึงมาเพื่อขอให้ทาง สธ. เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา

ด้าน นายกองตรี ดร.ธนกฤต กล่าวว่า จากกรณีที่มูลนิธิเป็นหนึ่งได้พาครอบครัวผู้เสียหายมาร้องทุกข์วันนี้ ทางกระทรวงสาธารณสุข จะเร่งดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งจะมีการประชุมกันในวันที่ 21 มิ.ย.นี้ คาดว่าหลังประชุมก็จะทราบผลในเบื้องต้นแล้ว

นายกองตรี ดร.ธนกฤต กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ตนยังไม่สามารถระบุได้ว่ากรณีที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น เป็นการวินิจฉัยที่ผิดพลาด ขอให้รอผลจากคณะกรรมการก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดเรื่องดังกล่าวขึ้น ก็จะต้องมีการชดเชยเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิตตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ในมาตรา 41 เพื่อการเยียวยาผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

นายกองตรี ดร.ธนกฤต กล่าวอีกว่า โดยจะมีการพิจารณาจากข้อมูลข้อเท็จจริงและแจ้งญาติเพื่อรับเงินเยียวยาตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของครอบครัวผู้เสียชีวิตมาก ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา จะส่งบุคลากรลงพื้นที่ไปดูแลญาติและครอบครัวผู้เสียชีวิตต่อไป


นายกองตรี ดร.ธนกฤต กล่าวด้วยว่า วันนี้มีกำนันเป็นตัวแทนชาวบ้านมาด้วย เพราะอยากมาแจ้งเรื่องที่มีการร้องเรียนปัญหา มาตรฐานการรักษาพยาบาลของบุคลากรในโรงพยาบาลดังกล่าว เราก็รับฟังเพื่อถอดบทเรียนไปแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก

"สิ่งที่ต้องยอมรับคือจำนวนบุคลากรที่ทำงานมีจำนวนไม่เพียงพอต่อผู้ป่วย ทำให้บางครั้งหมอเองก็อาจจะเหนื่อย ขอให้ผู้ป่วยเห็นใจในส่วนนี้ แต่เราก็ยอมรับในเรื่องที่เกิดขึ้นนี้เช่นกัน" นายกองตรี ดร.ธนกฤต กล่าวและว่า เพื่อให้เกิดการปฏิบัติ ตนและทีมงานจะลงพื้นที่ไปสุ่มตรวจแต่ละโรงพยาบาล เพื่อดูว่าผู้รับบริการได้รับการดูแลตามมาตรฐานหรือไม่


ด้าน นางฐานิยา (ขอสงวนนามสกุล) แม่ของเด็กหญิงวัย 4 ขวบที่เสียชีวิต กล่าวว่า ตนและครอบครัวเชื่อว่าที่ลูกเสียชีวิตเนื่องจากการวินิจฉัยที่ผิดพลาดของแพทย์ โรงพบาบาลแห่งหนึ่ง ทำให้ลูกได้รับการรักษาช้าจนเสียชีวิต

นางฐานิยา กล่าวต่อว่า เหตุการณ์เริ่มจากเมื่อวันที่ 25 ม.ค.2567 ลูกมีอาการไข้ ตัวร้อน แพทย์ทำการตรวจและวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ซึ่งได้ให้ครอบครัวรับยาและกลับบ้าน ในระหว่างที่อยู่บ้านแม่สังเกตเห็นอาการลูกแย่ลง



นางฐานิยา กล่าวอีกว่า จนวันที่ 29 ม.ค.2567 ลูกเริ่มหอบ หายใจติดขัด จึงพาลูกกลับไปที่โรงพยาบาลอีกครั้ง เวลาประมาณ 19.00 น. แพทย์เข้ามาทำการตรวจวินิจฉัยพร้อมทำการเจาะเลือด ซึ่งบอกว่าต้องรอผลตรวจ 1 อาทิตย์ และให้ลูกนอนโรงพยาบาลซึ่งขณะนั้นลูกเริ่มปวดท้องหนัก งอแง และมีพยาบาลมาตรวจ บอกว่า ลูกสาวจะเป็นไส้ติ่ง

นางฐานิยา กล่าวด้วยว่า ต่อมาเช้าวันที่ 30 ม.ค.2567 ทางทีมแพทย์ให้ยาแก้ปวด ลดไข้ จนเวลาประมาณ 12.00 น. ทางโรงพยาบาลได้ทำเรื่องส่งตัวไปรักษาต่อที่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จนช่วงเช้าวันที่ 31 ม.ค.2567 ทีมแพทย์โรงพยาบาลมหาราช ได้ตรวจด้วยการเอกซเรย์และนำลูกเข้าห้องผ่าตัด


นางฐานิยา กล่าวว่า จนเวลาประมาณ 12.00 น. แพทย์แจ้งลูกสาวเสียชีวิตในระหว่างการผ่าตัด ด้วยสาเหตุ ติดเชื้อในกระแสเลือด ไส้ติ่งแตก ซึ่งทางครอบครัวมองว่า กระบวนการรักษาทั้งหมด มาจากการที่ทีมแพทย์ในโรงพยาบาลแรกที่เข้ารับการรักษาไม่สามารถวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องได้ทำให้การรักษาล่าช้าและลูกสาวต้องเสียชีวิต

นางฐานิยา กล่าวต่อว่า และหลังเกิดเหตุทางโรงพยาบาลไม่เคยติดต่อชี้แจงใด ๆ กับครอบครัวเลย ตนจึงได้เข้ามาร้องเรียนเพราะไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นกับครอบครัวใดอีก